น้ำมัน (Oil) ถือเป็น สินค้าโภคภัณฑ์หลัก (Core Commoditiy) เนื่องจากเกือบทุกๆกิจกรรมทางการค้าและทางสังคม มีการใช้พลังงานหรือเชื้อเพลิงในแทบทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางออมก็ตาม จึงส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงมีผลกระทบกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
น้ำมันดิบที่สำคัญในตลาดโลก
น้ำมันดิบจะมีชื่อเรียกตามแหล่งที่ผลิต ซึ่งจะส่งผลให้เราทราบถึงแหล่งที่มาและคุณภาพ แหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในโลกมีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) และน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) โดยน้ำมันดิบเหล่านี้มีแหล่งผลิตและคุณภาพที่แตกต่างกันไปดังนี้
- น้ำมันดิบดูไบ (Dubai Crude) เป็นน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันใต้ทะเลทรายในเอเชียตะวันออกกลาง น้ำมันดิบที่ได้จากบริเวณนี้จะมีลักษณะ หนักและเปรี้ยว หรือที่เรียกกันว่า Heavy Sour Crude โดยน้ำมันดิบดูไบจะมีค่าความหนาแน่นจ้าเพาะ (API Gravity) ประมาณ 31 ดีกรี และมีปริมาณซัลเฟอร์ประมาณ 2%
- น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent Crude) มีแหล่งผลิตอยู่ในทะเลเหนือ (North Sea) หรือทะเลซึ่งอยู่ระหว่างเกาะอังกฤษและคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย น้ำมันดิบเบรนท์ ถือว่าเป็นน้ำมันเบาและหวาน (Light Sweet Crude) เนื่องจากมีค่า API อยู่ที่ประมาณ 39 ดีกรี และมีปริมาณซัลเฟอร์อยู่ที่ประมาณ 0.4%
- น้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI Crude) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็นน้ำมันดิบอ้างอิงที่ส้าคัญในทวีปอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน (Light Sweet Crude) โดยมีค่า API อยู่ที่ประมาณ 37 – 42 ดีกรี และมีปริมาณซัลเฟอร์อยู่ที่ประมาณ 0.24%
เหตุผลเพิ่มเติมที่ราคาน้ำมันแต่ละแหล่งผลิตไม่เท่ากัน
ช่วงกลางยุค 80 WTI และ Brent นั้นมีราคาซื้อขายที่เกือบเท่ากัน มีบางครั้งที่ WTI มีราคาแพงกว่า Brent อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน WTI มีราคาที่ต่ำกว่า Brent โดยราคาจะต่างกันอยู่ที่ถึง 18% (ในกรณีที่นำ Brent / WTI) โดยหลักๆจะมีต้นทุนจากการผลิตและการจัดส่ง เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันในแต่ละที่มีราคาแตกต่างกัน
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาคือปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ความตึงเครียดในตะวันออกกลางส่งผลต่อน้ำมันมากที่สุดโดยเฉพาะกับ Brent ความตึงเครียดนำไปสู่การลดลงของอุปทาน เนื่องจากเมื่ออุปทานของสินทรัพย์ใดๆลดลงราคาก็จะเพิ่มขึ้น West Texas Intermediate ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในประเทศสหรัฐอเมริกา
Brent และ WTI จึงยังเป็น Oil Benchmarks ที่เชื่อถือได้ หากคุณต้องการซื้อ-ขาย (ฺOpen Position Buy or Sell) ในตลาดน้ำมันให้เลือกสนใจเพียง 1 ตัว โดยส่วนตัวสำหรับผู้เขียนเลือกดูเพียง WTI เนื่องจากตามข่าวจากฝั่ง USA อยู่แล้ว จึงส่งผลให้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มได้ดีกว่า เนื่องจากมีความเข้าใจพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคามากกว่า
ทำไมถึงต้องมี benchmarks เหล่านี้?
เมื่อปลายทศวรรษ 1980 เมื่อ OPEC (องค์กรผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก) ปฏิเสธที่จะควบคุมราคาทำให้ราคาขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้ค้า ในการกำหนดราคาที่เหมาะสมผู้ส่งออกจำเป็นต้องใช้จุด Orienting Point Brent และ WTI ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ดังนั้นในปัจจุบันผู้ผลิตน้ำมันแต่ละรายจึงกำหนดราคาสำหรับน้ำมันที่ตนผลิตเอง ขึ้นอยู่กับว่าราคาจะสอดคล้องกับ benchmark มากน้อยแค่ไหน แต่ก็จะมีทิศทางเดียวกันเสมอ
ปัจจัยที่ขับเคลื่อนราคาน้ำมัน
- ความต้องการน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศจีน และอินเดีย
- ข้อจำกัดของกำลังการกลั่นน้ำมันในตลาดโลก เพื่อรองรับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงมีแนวโน้มว่าจะต้องมีการสร้างโรงกลั่นใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
- ความมั่นคงในอุปทานของน้ำมันดิบ ความไม่มั่นคงและไร้เสถียรภาพทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางยังคงเป็นสาเหตุของความไม่แน่นอนในการผลิตน้ำมันดิบ และในขณะเดียวกันยังเป็นต้นเหตุของการผันผวนของราคาน้ำมันดิบด้วย
- สภาพอากาศที่รุนแรงและยากต่อการพยากรณ์หรือคาดเดา สภาพอากาศที่ส่งผลกระทบรุนแรง เช่น พายุเฮอร์ริเคนในสหรัฐอเมริกา ทำให้กำลังการกลั่นน้ำมันทั่วโลกลดลงเป็นระยะๆ ขีดความสามารถในการกลั่นน้ำมันที่ลดลงประกอบกับการเก็งกำไรจากปริมาณการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด เป็นที่มาของราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่มีความผันผวนอย่างมากทั่วโลก
- ปรากฎการณ์ตามฤดูกาล ราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้รับอิทธิพลจากความต้องการใช้น้ำมันบางชนิดที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสำคัญๆ ของซีกโลกทางตอนเหนือ อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น ฤดูหนาวในประเทศซีกโลกตอนเหนือ ทำให้เกิดความต้องการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าดสูงมากขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างความอบอุ่นให้กับบ้านเรือนและสำนักงาน ส่วนในฤดูร้อนความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้นเพราะผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้รถในการเดินทางมากขึ้น
- การเก็งกำไรของตลาด น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปทำการซื้อขายกันในตลาดเปิด จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรของตลาดได้ นอกจากนั้น ในระยะหลังๆ นี้ มีนักเก็งกำไรรุ่นใหม่ๆเข้ามาในตลาดมากขึ้น ซึ่งส่วนมากเป็นนักลงทุนที่อยู่ในรูปแบบของผู้จัดการกองทุนและเฮ็ดจ์ฟันด์ต่างๆ
- ความผันผวนของค่าเงิน น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดหลักของโลกนั้นซื้อขายกันด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนเกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินท้องถิ่น กับเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้นทุนในการซื้อน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
- การเชื่อมโยงระหว่างราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า (Oil Future)
สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่มีการซื้อขายและได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ได้แก่ Light Sweet Crude Oil Futures (WTI) ซึ่งมีการซื้อขายกันในตลาด NYMEX ของกลุ่ม Chicago Mercantile Exchange (CME Group) ในสหรัฐอเมริกา และ ICE Brent Crude Futures (Brent) ซึ่งซื้อขายที่ตลาด ICE Europe ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยราคาของน้ำมัน WTI และ Brent ที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ นั้น ก็เป็นราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าที่ซื้อขายในสองตลาดนี้เช่นกัน
การกลั่นน้ำมัน (Oil Refinery)
เว็บไซต์ที่น่าสนใจในการติดตามตัวเลขที่ส่งผลกระทบ
- https://oilprice.com สำหรับติดตามราคาน้ำมันโลก รวมทั้งข่าวสารอัพเดทที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน
- https://www.eia.gov ข้อมูลสต็อคน้ำมันของสหรัฐ แก๊สและเชื้อเพลิงอื่น และวิเคราะห์แนวโน้ม