Forex (Foreign Exchange) คือ ตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งแปรผันตาม Demand และ Supply ของแต่ละสกุลเงินจากหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน สถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่ส่งผลหรืออาจส่งผลต่อเงินสกุลนั้นๆในอนาคต รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน หรือ ทองคำด้วย เนื่องจากส่งผลทางอ้อมกับอัตราเงินเฟ้อโลกอีกด้วย
ในสมัยก่อนการเทรด Forex มักจะจำกัดอยู่ในกลุ่มของสถานบันการเงินใหญ่ๆ หรือบริษัทประกัน แต่ในปัจจุบันการเทรด Forex มีความแพร่หลายมากขึ้น จากเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รายย่อยสามารถรับรู้ข่าวสารใหม่ๆได้รวดเร็วแทบไม่ต่างจากรายใหญ่ รวมทั้งยังสามารถเทรดออนไลน์ได้แทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาตี 5 ของวันจันทร์ จนถึงตี 4 ของวันเสาร์ตามเวลาบ้านเรา ทำให้รายย่อยไม่เสียเปรียบรายใหญ่อีกต่อไป
ในปัจจุบันการเทรด Forex มีการวิวัฒนาการไปมาก จนถึงขั้นมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเฝ้าราคา ซึ่งแน่นอนว่าสามารถส่งคำสั่งซื้อ-ขาย รวมถึงเปิด-ปิดคำสั่งซื้อขายได้ด้วย เรียกว่า Expert Advisors (EA) แม้จะไม่ใช่สิ่งใหม่อะไรนักในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้าน EA น้อยมาก เนื่องจากการสร้าง EA จะต้องมีความเชียวชาญทั้งทางด้าน ปัจจัยทางเทคนิค และ การเขียนโค้ดของภาษา MQL4 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษา C หรือ C++
จุดเด่นของ Forex
- เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุด เปิดให้ซื้อขายแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ 5.00น. วันจันทร์ ไปจนถึง 4.00น. ของวันเสาร์
- มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากดัชนีของแต่ละสกุลเงินมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยที่เข้ามากระทบ หรือเพียงแค่อาจจะกระทบ ก็ส่งผลกระทบต่อดัชนีของสกุลเงินนั้นๆแล้ว
- มีสภาพคล่องสูง เนื่องจากมีผู้ซื้อ-ผู้ขายจำนวนมากในตลาด จึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สามารถซื้อกลับ หรือขายคืนได้
- สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ในทุกๆคู่สกุลเงิน เนื่องจากสามารถเปิดสถานะซื้อ (Long) หรือเปิดสถานะขาย (Short) ก่อนก็ได้
- ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มากนัก รายย่อยจึงสามารถเข้ามาศึกษาก่อนที่จะเพิ่มเงินลงทุนได้
การเทรด Forex เหมาะกับนักลงทุนกลุ่มใด ?
- ผู้ที่ต้องการเก็งกำไร (Speculate) ส่วนมากจะเป็นผู้เล่นรายย่อยที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง เพราะกำไรขาดทุนจะสูงขึ้นตามจำนวนปริมาณสัญญาที่เปิด (Lot) รวมถึงระดับ Margin ที่สามารถกำหนดได้เอง (Leverage) และอีกหลายๆปัจจัยซึ่งส่งผลต่อกำไร (Gain) ขาดทุน (Loss) รวมทั้งการบังคับขาย (Force Sell)
- ผู้ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากผลที่อาจะเข้ามากระทบกับค่าเงินในสกุลที่ถืออยู่ (Hedging) ส่วนมากจะเป็นกองทุน หรือบริษัทที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งต้องใช้เงินตราต่างประเทศในการซื้อขาย จึงต้องมีการวิเคราะห์แนวโน้มของค่าเงินสกุลที่ถือ หากคาดการณ์ว่าจะปรับตัวลง อาจใช้ตลาด Forex ในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือทำสัญญากับทางสถาบันการเงินเพื่อ Lock ค่าเงินและยอมจ่ายเงินเพิ่มบางส่วน เพื่อแลกกับการป้องกันความเสี่ยง
การเตรียมตัวก่อนเทรด Forex
เนื่องด้วยตลาด Forex แทบจะเรียกได้ว่ามีระดับความเสี่ยงที่สูงที่สุดในบรรดาผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดในโลก จากอัตรากำไรขาดทุนในระดับที่อาจเรียกได้ว่าเท่าที่ใจคุณต้องการ ผู้ที่ลงทุนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้ง ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) และ การวิเคราะห์กราฟ (Technical Analysis)
อีกทั้งต้องรู้ระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ รวมทั้งกฏ เงื่อนไข หรือแม้แต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆอีกมากมายในการเทรด เพื่อที่จะใช้เป็นหางเสือในการกำหนดกลยุทธ์ในการเทรด ซึ่งแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะเข้าใจเรื่องพวกนี้หากยังไม่เคยลองเทรดจริง ผู้ที่เข้ามาเทรดในตลาด Forex ใหม่ๆ จึงควรเริ่มด้วยบัญชีทดลอง (Demo Account) ก่อนที่จะเริ่มลงเงินจริง ซึ่งโบรคเกอร์ที่เปิดให้บริการจะมีบัญชีทดลองให้ผู้ที่สนใจเทรดได้ลองก่อนทุกโบรคอยู่แล้ว เพื่อให้เข้าใจระบบการเทรดพื้นฐานก่อนที่จะตัดสินใจเปิดบัญชีเพื่อเทรดจริง (Real Account)
คำศัพท์ที่ควรรู้จักในการเทรด Forex
- Lot size (Volume ขนาดของคำสั่งซื้อขาย) ยิ่ง Lot size มากขึ้น จะส่งผลให้กำไร/ขาดทุนเยอะขึ้นตาม
- Leverage (สัดส่วนหลักประกันที่สามารถกู้ยืม Broker) ยิ่ง Leverage มากขึ้น จะส่งผลให้มีอำนาจกู้ยืมมากขึ้นเท่านั้น
- Balance คือ จำนวนเงินที่เราได้ทำการฝากเข้าไป หรือยังคงเหลืออยู่ซึ่งสุทธิจาก Order ที่ทำการ Close Order ได้แล้ว
- Credit คือ จำนวนโบนัสที่ได้รับจากโปรโมชั่นของทาง Broker Forex ที่ยังคงเหลืออยู่
- Equity คือ มูลค่าของ Port การลงทุนแบบ Realtime ซึ่งจะขึ้นลงตลอดตามราคาตลาด โดยจะมีวิธีคิดมูลค่า ดังนี้ [Balace+Credit+(Net Gain/loss)]
- Margin (หลักประกัน) การจะทำการซื้อขายในตลาด Forex ได้นั้น ต้องมีการวางหลักประกัน ซึ่งในการเทรด Forex นั้นจะแบ่ง Margin ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Margin หมายถึง Order ที่เราเปิดไปแล้วนั้นวางหลักประกันไปเท่าไหร่
- Margin Level (%) หมายถึง เรามีหลักประกันเป็นกี่ % จากหลักประกันที่ใช้เปิด Order ไปแล้ว
- Free Margin หมายถึง หลักประกันที่ยังสามารถใช้ในการเปิด Order เพิ่มได้
- Spread (ความห่างระหว่าง Bid และ Ask) จริงๆแล้วส่วนนี้คือค่าธรรมเนียมในการเทรด หากโบรคไหน Spread ต่ำ หมายถึงมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเทรดที่น้อยกว่านั่นเอง
- Commission (ค่าบริการ) นักลงทุนในตลาด Forex ที่ใช้บัญชี Zero spreade จะเจอกับค่าบริการในส่วนนี้ เพื่อแลกกับการที่สามารถเทรดด้วย Spread ในการซื้อขายที่แคบลงนั่นเอง
- Swap (ผลต่างดอกเบี้ยของคู่สกุลเงิน) อาจเรียกว่า Overnight Interest โดยค่า Swap นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเปิด Order ทิ้งไว้ข้ามคืน ผลต่างของดอกเบี้ยอาจส่งผลให้มีผลเป็นบวกหรือลบก็ได้ และ Swap Long และ Swap Short จะไม่เท่ากัน หากคู่สกุลเงินใดมีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ก็จะส่งผลให้ค่า Swap มีการเปลี่ยนแปลงตามเช่นกัน
- Open Position คือ การเปิดสถานะ ซื้อ (Long Position) หรือ ขาย (Short Position)
- Open Long Position (เปิดสถานะซื้อ) เมื่อคาดว่าคู่เงินนั้นจะมีการ ปรับตัวขึ้น ให้ Long ใส่คู่เงินนั้นๆ
- Open Short Position (เปิดสถานนะขาย) เมื่อคาดว่าคู่เงินนั้นจะมีการ ปรับตัวลง ให้ Short ใส่คู่เงินนั้นๆ
- Close Position คือ การปิดสถานะ ซื้อ (Long Position) หรือ ขาย (Short Position) ที่เปิดไปก่อนหน้า
- Close Long Position (ปิดสถานะซื้อ) จะเป็นการปิดสถานนะ Long ที่เปิดไปก่อนหน้า และสรุปผลกำไรขาดทุน
- Close Short Position (ปิดสถานนะขาย) จะเป็นการปิดสถานนะ Short ที่เปิดไปก่อนหน้า และสรุปผลกำไรขาดทุน
- Hedge Position ในกรณีที่มีทั้ง Long และ Short อยู่ เราสามารถทำการปิดทั้ง 2 สถานะพร้อมกันได้ ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเทรด
- Pending Order (คำสั่งที่รอดำเนินการ) คือการตั้งรอราคานั่นเอง โดยจะมีทั้งหมด 6 แบบ ดังนี้
- Buy Limit เมื่อราคาลงมาถึงระดับราคาที่กำหนด ระบบจะเปิด Long Position
- Sell Limit เมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับราคาที่กำหนด ระบบจะเปิด Short Position
- Buy Stop เมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับราคาที่กำหนด ระบบจะเปิด Long Position
- Sell Stop เมื่อราคาลงมาถึงระดับราคาที่กำหนด ระบบจะเปิด Short Position
- Buy Stop Limit เมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับที่กำหนด จะต้องรอลงมาถึงระดับที่ตั้งไว้อีกระดับ จึงจะเปิด Long Position
- Sell Stop Limit เมื่อราคาลงมาถึงระดับที่กำหนด จะต้องรอขึ้นไปถึงระดับที่ตั้งไว้อีกระดับ จึงจะเปิด Short Position
ควรเลือกใช้ MetaTrader4 หรือ MetaTrader5 ?
MetaTrader (MT) เป็นโปรแกรมหลักที่ใช้เทรด ซึ่งในปัจจุบันใช้กัน 2 เวอร์ชั่นคือ MT4 และ MT5 แม้ว่า MT5 จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานหลายส่วนที่น่าสนใจเพิ่มเติมเข้ามา เช่น มี Pending Order อย่าง Buy Stop Limit และ Sell Stop Limit เพิ่มเติม มีในส่วนของปฏิทินข่าวเศรษฐกิจให้ดู และเปิดตัวตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2010 แต่ก็ยังมีปริมาณผู้ใช้น้อยกว่า MT4 มากพอสมควร โดยน่าจะมีสาเหตุหลักๆมาจาก
- MT5 ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เยอะกว่า MT4
- MT5 ไม่รองรับกลยุทธ์ในการ Hedging เท่าที่ควร
- ไม่สามารถนำ EA หรือ Indicator ที่ใช้งานบน MT4 มาใช้บน MT5 ได้
นอกจากจะมีการเทรดสกุลเงินแล้ว ยังมีการเทรด Commoditiy อย่าง Gold Silver Oil และบางโบรคเกอร์ยังมี Cryptocurrency อย่าง BTC/USD หรือ ETH/USD ให้เทรดอีกด้วย